เกริ่นนำ

........สวัสดีค่ะ..ยินดีต้อนรับสู่ท่านที่มาชมบล็อกของดิฉัน...ซึ่้งเป็นสื่อประกอบการเรียนการสอนวิชาความเป็นครูเพื่อเป็นแบบอย่างในการเรียนการสอน..ปีการศึกษา2558..โดยผสมผสานระหหว่างการเรียนรู้ใน้องเรียนปกติกับบล็อกเกอร์มีความสะดวกสบาย..ทำให้ได้ข้อมูลความรู้อย่างกว้างไกล...หวังว่าbloggerนี้จะมีประโยชย์กับผู้ชมไม่มากก็น้อย

วันพฤหัสบดีที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2558

วันจันทร์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2558


 คุณธรรม


 ...คุณธรรม หมายถึง สภาพคุณงามความดี - พจนานุกรมฉบับ

ราชบัณฑิตยสถานคุณธรรม หมายถึง สิ่งที่มีคุณค่า มีประโยชน์ เป็น

ความดีงาม เป็นมโนธรรม เป็นเครื่องประคับประคองใจให้เกลียด

ความชั่ว กลัวบาป ใฝ่ความดี และเป็นเครื่องกระตุ้นผลักดันให้เกิด

ความรู้สึกผิดชอบ เกิดจิตสำนึกที่ดีมีความสงบเย็นภายใน ประมวล

จากการประชุมระดมความคิด
จริยธรรม
หมายถึง ธรรมที่เป็นข้อประพฤติ ศีลธรรมอันดี ตามธรรมเนียมยุโรป อาจเรียก จริยธรรมว่า Moral philosophy (หลักจริยธรรม) จริยธรรม  ธรรมที่เป็นข้อประพฤติปฏิบัติ ศีลธรรม กฎศีลธรรม 
การประเมินวินัย คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพครู เพื่อให้ข้าราชการครู และบุคลากรทางทางการศึกษามีและเลื่อนวิทยฐานะ(ชำนาญการพิเศษ) จะประเมินใน 6 เรื่อง ได้แก่
                  1.พฤติกรรมการรักษาระเบียบวินัย ได้แก่ การควบคุมการประพฤติปฏิบัติของตนเองให้อยู่ในกฎระเบียบของหน่วยงานและสังคมในกรณีมีความรับผิดชอบและซื่อตรงต่อการปฏิบัติหน้าที่ โดยยึดถือประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นต่อส่วนรวมเป็นสำคัญ
                  2.การประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี ได้แก่ พฤติกรรมการปฏิบัติทั้งพฤติกรรมส่วนตนและพฤติกรรมการปฏิบัติงาน ทั้งในเรื่องความสามัคคีและวิถีประชาธิปไตยในการดำเนินชีวิต
                  3.การดำรงชีวิตอย่างเหมาะสม ได้แก่ การประพฤติปฏิบัติตนในการดำรงชีวิตที่ยึดหลักความพอเพียง การหลีกเลี่ยงอบายมุข การรู้รักสามัคคีและวิถีประชาธิปไตยในการดำเนินชีวิต
                  4.ความรักและศรัทธาในวิชาชีพ ได้แก่ ความพึงพอใจและอุทิศเวลาในการปฏิบัติงานในหน้าที่ด้วยความวิริยะ อุตสาหะ โดยมุ่งผลสำเร็จที่เป็นความเจริญก้าวหน้าของการจัดการศึกษา
                  5.ความรับผิดชอบในวิชาชีพ ได้แก่ การปฏิบัติงานในหน้าที่โดยคำนึงถึงความถูกต้อง ความซื่อสัตย์สุจริต และผลประโยชน์ของหน่วยงานและผู้รับบริการเป็นสำคัญ
                  6.ค่านิยม และอุดมการณ์ของความเป็นครู และบุคลากรทางการศึกษา ได้แก่ ค่านิยมพื้นฐาน 5 ประการ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ฯลฯ

คุณธรรม จริยธรรมของครู  
                                
        1.ครูต้องมีความขยันหมั่นเพียร   
             
        2.ครูต้องมีวินัยตนเอง
              
        3.ครูต้องรู้จักปรับปรุงตนเอง   
          
       4.ครูต้องให้ความช่วยเหลือผู้อื่น 
          
       5.ครูต้องบำเพ็ญประโยชน์เพื่อชุมชน
             
       6.ครูต้องเสียสละเพื่อสาธารณะประโยชน์ 
         
       7.ครูต้องรู้จักเห็นอกเห็นใจผู้อื่น
               
       8.ครูต้องมีความกตัญญูกตเวที    
          
       9.ครูต้องไม่ประมาท      
         
     10.ครูต้องปฏิบัติต่อผู้อาวุโสในทางที่ดี  
       
     11.ครูต้องมีสัจจะและแสดงความจริงใจ 
              
     12.ครูต้องมีความเมตตากรุณา  
    
     13.ครูต้องมีความอดทน อดกลั้น 
              
     14.ครูต้องมีความซื่อสัตย์    
       
     15.ครูต้องมีระเบียบวินัยและตรงต่อเวลา 
         
     16.ครูต้องมีการให้อภัย      
        
     17.ครูต้องประหยัดและอดออม   
            
    18.ครูต้องเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่     
          
    19.ครูต้องมีความรับผิดชอบ        
     
    20.ครูต้องจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์


จรรยาบรรณของวิชาชีพครู

1.ครูต้องรักษาวินัยที่บัญญัติเป็นข้อห้ามและข้อปฏิบัติไว้ในหมวดนี้

โดยเคร่งครัดอยู่เสมอ
2.ครูต้องมีวินัยในตนเอง พัฒนาตนเองด้านวิชาชีพ บุคลิกภาพ และ
วิสัยทัศน์ ให้ทันต่อการพัฒนาทางวิทยาการ เศรษฐกิจ สังคม และการเมืองอยู่เสมอ
3.ครูต้องรัก ศรัทธา ซื่อสัตย์สุจริต รับผิดชอบต่อวิชาชีพ และเป็น
สมาชิกที่ดีขององค์กรวิชาชีพ
4.ต้องรัก เมตตา เอาใจใส่ ช่วยเหลือ ส่งเสริมให้กำลังใจแก่ศิษย์และผู้รับบริการตามบทบาทหน้าที่อย่างเต็มความสามารถ ด้วยความบริสุทธิ์ใจ
5.ครูต้องประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีทั้งทางกาย วาจา และจิตใจ
 6.ครูต้องไม่กระทำตนเป็นปฏิปักษ์ต่อความเจริญทางกาย สติปัญญา จิตใจ อารมณ์ และสังคมของศิษย์ หรือผู้รับบริการ
 7.ครูต้องให้บริการด้วยความจริงใจและเสมอภาคโดยไม่เรียกรับหรือยอมรับผลประโยชน์จากการใช้ตำแหน่งหน้าที่โดยมิชอบ
8.ครูต้องช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกันอย่างสร้างสรรค์ โดยยึดมั่นในระบบคุณธรรม สร้างความสามัคคีในหมู่คณะ
9.ครูต้องประสงค์ปฏิบัติตนเป็นผู้นำในการอนุรักษ์และพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญา สิ่งแวดล้อม รักษาผลประโยชน์ของส่วนรวมและยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข